วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพลงฉ่อย

สดุดีครูกลอนสุนทรภู่

 

รัตนกวีสี่แผ่นดินถิ่นสยาม
คงใคร่ครวญคิดถามคนรุ่นหลัง
เขียนกลอนยากเข็ญใจนักกระมัง
ต้องมานั่งร้องอ้อนวอนขอใคร

ดีไม่ดีเขียนไปให้ฝึกฝน
มัวแต่อ้อนวอนคนเสียนิสัย
เสน่ห์ถ้อยวรรณนาภาษาไทย
อยู่ที่ใจรับรสบทลบอง

คำสุนทรกลอนครูท่านภู่เขียน
จากใจเจียรหนึ่งนี้ไม่มีสอง
ลอกคนอื่นส่งๆไปในทำนอง
ค่าร้อยกรองด้อยนักจักโรยรา

งานตัวเองพึ่งตัวเองอย่าเกรงกลัว
ถึงดีชั่วแก้ไขให้คุณค่า
จักภูมิใจในตนผลวิชา
สุนทรภู่ยิ้มร่ามาให้คุณ
 
 
                     
 
 

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียงความเรื่อง สุนทรภู่ครูกวีแห่งสยาม

เรียงความเรื่อง สุนทรภู่ครูกวีแห่งสยาม

        เมื่อถึงวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีใครๆก็รู้ว่าเป็นวันสุนทรภู่ โรงเรียนส่วนใหญ่ก็จะจัดกิจกรรมแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี แล้วก็แต่งบทกลอนเทิดทูน หรือไม่ก็มีการจัดท่องเที่ยวตามบทประพันธ์นิราศ ต่างๆนาๆ แล้วอยู่ดีๆ ก็มีคนเอาบทประพันธ์ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วยุเนสโก้ก็มาอ่านแล้วยกย่องให้สุนทรภู่เป็นกวีเอกของโลก ที่เรียกสุนทรภู่ว่าครูกวีแห่งสยามก็คงเพราะท่านเป็นคนคิด การบังคับ โครง ฉันท์ กาพ กลอน ต่างๆนาๆ ใช้เรียนกันในวิชาภาษาไทยก็เพื่อให้ ประเทศไทย ไม่ลืมการแต่งคำประพันธ์ จริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่นั่นคือความคิดของพวกสิ้นคิดไม่มีวันที่จะเจริญได้หรอก

แต่เมื่อพอลองไปเปิดสมุดบันทึกชีวประวัติของท่านมาอ่านก็จะรู้ทันที่ว่า กว่าจะมาเป็นบทประพันธ์ซักบทหนึ่งมันยากลำบากขนาดไหน ว่าสุนทรภู่จะคิดการแต่ บทประพันธ์ ที่ฟังหรืออ่านแล้ว ไพรเราะเสนาะหูมันยากแค่ไหน แต่ความจริงแล้ว สุนทรภู่เกิดมาก็ เป็นเพียบแค่ไอ้เด็กตัวเล็กๆที่ชอบพูดจาภาษากลอนที่มีชื่อว่า ภู่ แต่เมื่อโตขึ้นก็ไปเป็นข้าในกลมพระราชวัง เพราะมารดาไปเป็นแม่นมให้เชื่อพระวงศ์ ส่วนพ่อก็โกรธแม่หนีไปบวดซะงั้น พอเมื่อสุนทรถู่โตขึ้นมาหน่อยก็ไปชอบกับนางในที่ชื่อว่าแม่จัน อย่างกับหนังแดจังกึม หลังจากที่ชอบพอกันไม่ไม่นานก็ถูกจับไปจองจำเพราะข่าวนั้นดังไปถึงกรมพระราชวังหลัง แต่ไม่นานก็ถูกปลอยตัวเพราะ กรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต เป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคต แต่พอเมื่อถูกปล่อยตัวได้ไม่นาน สุนทรภู่ก็ถูกใช้ให้ไปธุระที่จังหวัดชลบุรี ด้วยความคิดถึงนางจัน พี่ภู่ ก็ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง ออกมาเป็นเหมือนบันทึกการเดินทาง หลังจากกลับมาวังหลังสุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในวันมาฆบูชา จึงได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้นอีก คือ นิราศพระบาท แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไปพระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดซึ่งเป็นบุตรของสุนทรภู่ไว้ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อยๆเลย แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย ในรัชกาลที่ ๒ ขุนสุนทรโวหารใน ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้ง เมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงกับอุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ ส่วนญาติพี่น้องของสุนทรภู่ ที่ล้วนเป็นชาววังหลังมีความสัมพันธ์กับวัดสุวรรณารามอย่างมากสำหรับชุมชนบ้านบุ เป็นชุมชนที่มีการบุขันลงหินวัดสุวรรณารามหรือวัดทองนั้น เป็นที่เผาศพของน้องสุนทรภู่ 2 คน ที่ชื่อฉิม และนิ่ม ในกลอนนิราศที่บอกว่า "ถึงวัดทองหมองเศร้าให้เหงาเงียบ เย็นยะเยือกหย่อมหญ้าป่าช้าผี สงสารฉิมนิ่มน้อง 2 นารี มาปลงที่เมรุทองทั้ง 2 คน" ในสมัยรัชการที่ 3 เมื่อสุนทรภู่สึกออกมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัยในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้สุนทรภู่ยังแต่งเรื่องสิงหไตรภพถวายกรมหมื่นอัปสรฯ อีกเรื่องหนึ่ง แม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
          ไปๆมาๆ ชีวิตของสุนทรภู่วนเวียนอยู่ในวังกับวัด จนเกิดเป็นมหานิราศและบทประพันธ์ ได้แก่ 1.นิราศเมืองแกลง 2.นิราศพระบาท 3.นิราศภูเขาทอง 4.นิราศเมืองเพรช 5.นิราศสุพรรณ 6.นิราศพระประธม 7.พระอภัยมณี และอื่นๆอีกมากมาย ตั้งแต่เกิดวังหลัง โตวังหลวง บวชวัดหลวง และตายวังหน้า ก็ไม่มีใครรู้เลยว่าสุนทรภู่เป็นคนระยอง เพียงแต่แต่งนิราศเมืองแกลงไว้ตอนไปเยี่ยมพ่อที่นั่น สุนทรภู่เป็นกวีเอกของโลกไปแล้ว แต่คนไทยยังสับสนถึงตัวตน ความเป็นมา และความเป็นไปของกวีเอกผู้นี้อย่างไม่เข้าท่าไม่เข้าเรื่องหลักฐานก็มี ของจริงก็ยังพอปรากฏขนาดนี้ ตาสว่างเสียทีคนไทย

ศรีปราชญ์

ศรีปราชญ์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 9 ขวบ หลังแต่นั้นมาจึงกลายเป็นกวีเอกของพระนารายณ์มหาราช แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของตน ทำให้ผู้คิดปองร้าย ใส่ร้ายศรีปราชญ์ จนถูกสั่งประหารชีวิตในที่สุด

สมัยเด็ก

สันนิษฐานว่า ศรีปราชญ์ คงจะเกิดในปี พ.ศ. 2196 หรือ 3 ปี ก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นครองราชย์แทนสมเด็จศรีสุธรรมราชา พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงบทหนึ่ง ว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
แล้วก็ทรงติดขัด แต่งอย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงพระราชทานให้แก่พระโหราธิบดี (บิดาของศรีปราชญ์) ซึ่งนอกจากจะมีความสามารถทางด้านพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ความสามารถอื่นๆอีกรอบด้าน โดยเฉพาะทางด้านการแต่งโคลงกลอนซึ่งถือเป็นมือหนึ่งในสมัยนั้นเลยทีเดียวเมื่อพระโหราธิบดี ีได้รับแผ่นชนวนก็มีความคิดที่จะแต่งต่อเลยทันทีแต่ทว่าไม่สามารถแต่งต่อไดพระโหราธิบดีจึงขอพระราชทานนำกระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้านเมื่อถึงบ้านแล้วท่านก็นำกระดานชนวนไปไว้ที่ห้องพระเนื่องจาดถือเป็นของสูง แล้วก็ไปอาบน้ำชำระร่างกาย ศรีปราชญ์บุตรชายวัย 7 ขวบก็คิดจะเข้ามาหาพ่อที่ห้องพระ แล้วก็เหลือบไปเห็นกระดานชนวนที่วางอยู่จึงแต่งต่อว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
ผิวชนแต่จักกราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
เมื่อพระยาโหราธิบดีอาบน้ำเสร็จ ก็เข้ามาที่ห้องพระแล้วสังเกตว่ากระดานวางอยู่ต่างจากเดิม จึงคิดในใจว่า ต้องเป็นฝีมือของเจ้าศรี บุตรชายของตนเป็นแน่ แต่ว่า เมื่อเห็นโคลงที่บุตรชายของตนแต่งต่อก็หายโกรธในทันที แล้ววันรุ่งขึ้น พระยาโหราธิบดีก็นำกระดานชนวนนั้น ไปถวายสมเด็จพระนารายณ์
พอวันรุ่งขึ้นหลังจากเข้าเฝ้าถวายแผ่นกระดานชนวนแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์แล้ว พระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นบทโคลงที่แต่งต่อ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย ตรัสชมเชยพระยาโหราธิบดีเป็นการใหญ่ พร้อมกับจะปูนบำเหน็จรางวัลให้ แต่ทว่า หากท่านพระยาโหราธิบดีแกรับพระราชทานบำเหน็จโดยฅกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ หากวันใดทรงทราบความจริงเข้า โทษสถานเดียวคือ "หัวขาด" ด้วย "เพ็ดทูล" พระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ท่านจึงกราบบังคมทูลความจริงให้ทรงทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว
Cquote1.svg
ผู้ที่แต่งโคลงต่อจากพระองค์ มิใช่ข้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นเจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งทำไปด้วยความซุกซน ต้องขอพระราชทานอภัยโทษแก่มันด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
Cquote2.svg
เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสดับความจริงจากพระยาโหราธิบดี แทนที่จะทรงกริ้ว กลับทรงพอพระราชหฤทัยยิ่งขึ้น ถึงกับทรงพระสรวลลั่นท้องพระโรง และตรัสกับท่านพระยาโหรา ฯว่า
Cquote1.svg
บ๊ะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเก่งอย่างไร ดูรึ ลูกชายก็เก่งปานกัน หากเราจะขอให้เจ้านำบุตรของท่านเข้าถวายตัวเพื่อรับราชการแต่บัดนี้ เจ้าจะว่ากระไร ?
Cquote2.svg
พระยาโหร ฯ ได้ยินเช่นนั้น ก็ถวายบังคมยกมือขึ้นเหนือเศียร รับใส่เกล้า ฯ ใส่กระหม่อม แล้วจึงกราบบังคมทูลว่า
Cquote1.svg
ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ การที่พระองค์ทรงโปรดที่จะให้เจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า เข้าถวายตัวเพื่อรับราชการนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่เนื่องจากบุตรของข้า ฯ ยังเยาว์วัยเพียง 7 ชันษา ยังซุกซนและไม่ประสาในการที่จะรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท เอาไว้ให้เขาเจริญวัยกว่านี้สักหน่อย ค่อยว่ากันอีกที ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
Cquote2.svg
จะว่าไปแล้ว ท่านพระยาโหราธิบดีนั้น ท่านรู้อยู่แก่ใจของท่านดีว่า หากให้เจ้าศรีเข้ารับราชการเมื่อไร ก็เร่งเวลาให้เจ้าศรีอายุสั้นมากเท่านั้น ด้วยทราบอุปนิสัยใจคอลูกชายของท่านดีประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คำนวณเอาไว้ บ่งบอกชัดเจนว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา ดังนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์ทวงถามเรื่องเจ้าศรีทีไรท่านพระยาโหรก็ต้องหาเรื่องกราบทูลผลัดผ่อนเรื่อยไป
จนกระทั่งเจ้าศรีอายุได้ 15 ปี ได้ศึกษาสรรพวิทยาการต่าง ๆ จากท่านพระยาโหร ฯ ผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว ท่านพระยาโหร ฯ จึงได้ถามความสมัครใจว่า อยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังนั้น เมื่อพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง ท่านพระยาโหรฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือผลัดผ่อนได้อีกแต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีเข้าถวายตัวนั้น ได้ทรงขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ 1 ข้อ คือ
Cquote1.svg
เมื่อเจ้าศรีเข้ารับราชการแล้ว หากกาลต่อไปภายหน้า ถ้ามันกระทำความผิดใด ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ และมีโทษถึงตาย ก็ขอได้โปรดงดโทษตายนั้นเสียหากจะลงโทษจริง ๆ ก็ขอเพียงให้เนรเทศให้พ้นไปจากเมือง อย่าให้ต้องถึงกับประหารชีวิต
Cquote2.svg
ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้นโดยดี ทำให้ท่านพระยาโหร ฯ บรรเทาความวิตกกังวลไปได้มากทีเดียว

[แก้] สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สาเหตุของการเนรเทศ
ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์เดินทางไปประพาสยังป่าแก้วพระยารามเดโชโดนลิงอุจจาระลงศีรษะบรรดาทหารต่างๆก็หัวเราะสมเด็จพระนารายณ์ ์ที่ทรงบรรทมอยู่จึงตื่นขึ้นแล้วตรัสถามอำมาตย์แต่ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลเพราะกลัวจะไม่สบพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กศรีมาถาม ฝ่ายเจ้าศรีรับใช้มานานจนทราบพระราชอัธยาศัยจึงกราบบังคมทูลด้วยคำคล้องจองว่า พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยารามเดโช สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยเป็นอย่างมากแต่นั่นก็เป็นการสร้างความขุ่นเคืองให้พระยารามเดโชเป็นอย่างมาก สมเด็จพระนารายณ์ถึงกับตรัสว่า ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้เถิด
ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำเตี้ยเดียรฉาน ฯ
ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น ชมแข
สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า
ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นดินเดียว ฯ
สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีกเช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปรานเขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมืองเข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์"[ต้องการอ้างอิง] และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง ฯ
ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี ได้ข่าวการประหารศรีปราชญ์ แพร่ไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์ผู้ซึ่งใคร่จะเรียกตัวศรีปราชญ์มาใช้งานในเมืองหลวงพระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทำการโดยปราศจากความเห็นชอบของพระองค์ และเมื่อพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้นนำมาประหารชีวิตเจ้านครศรีธรรมราช ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง